7 ปัจจัยเสี่ยงโรคไต ที่คุณอาจจะยังไม่รู้
หากพูดถึงโรคไต หลายคนคงคิดแค่ "ทานเค็มมากเกินไป" แต่วันนี้เราจะมาบอกว่าไม่ใช่แค่อาหารรสเค็มเท่านั้นที่เป็นสาเหตุของโรคไต คุณอาจยังไม่ทราบ และเผลอทำร้ายไตของตัวเองไปโดยไม่รู้ตัว!
1.การทานอาหารเผ็ดจัด
หลายคนอาจะยังไม่รู้... ไม่ใช่แค่การทานอาหารรสเค็ม แต่ทานอาหารเผ็ดจัด ก็ทำให้ไตงานหนักขึ้น จึงมีส่วนทำให้เป็นโรคไตได้เช่นเดียวกัน
2.การดื่มน้ำมากเกินไป
การดื่มน้ำน้อยเป็นสาเหตุของของโรคไตแต่คุณเคยรู้ไหมว่าการดื่มน้ำมากเกินไปก็มีส่วนที่จะทำให้เป็นโรคไตได้ เพราะการฟอกของเสียในร่างกาย ต้องใช้น้ำเป็นตัวพาไปสู่การกรองของไตจนกลายเป็นปัสสาวะ หากดื่มน้ำมากเกินไป ไตก็จะทำงานหนักเกินมากกว่าปกติซึ่งมีผลทำให้เป็นโรคไตได้ (การดื่มน้ำน้อยมีโอกาสเป็นโรคไตมากกว่า)
3.กรรมพันธุ์ก็มีส่วนนะ
หลายคนอาจจะไม่รู้โรคไตบางชนิดเกิดขึ้นจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic Kidney Disease) เพราะฉะนั้นคนที่มีพ่อแม่เป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคนี้เช่นกัน โรคนี้มี 2 แบบ ได้แก่ แบบทารก (Infantile PKD) มักจะเสียชีวิตตั้งแต่เกิด ส่วนแบบผู้ใหญ่ (Adult PKD-APKD) มักพบความผิดปกติเมื่ออายุ 20-30 ปีขึ้นไป
กรรมพันธุ์เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เป็นโรคไตถ้าคุณมีพ่อแม่ที่เป็นโรคไตคุณควรดูแลตัวเองให้มากขึ้นด้วย!!
4.การทานอาหารสำเร็จรูป
แม้ว่าคุณอาจจะบอกว่าฉันไม่ใช่คนที่ทานอาหารเค็ม แต่หากคุณใช้ชีวิตประจำวันวนเวียนอยู่กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวกล่องในร้านสะดวกซื้อ อาหารกระป๋องต่างๆ หรือแม้กระทั่งน้ำอัดลม โซดา และเครื่องดื่มบางประเภท คุณจะได้รับโซเดียมเข้าไปในร่างกายในปริมาณสูงโดยที่คุณไม่รู้ตัว ซึ่งมีผมทำให้คุณเป็นโรคไตได้ ดังนั้นคุณควรทานให้น้อยลง
5.อาชีพ กับการทำงานก็มีส่วนนะ
อาชีพบางอย่างอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตได้ เช่น นักมวย อาจถูกต่อย ถูกเตะบริเวณไตจนเกิดอันตรายได้ หรือบางคนทำงานในโรงงานซึ่งได้รับสารพิษต่อไตสะสมยาวนาน ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้
เพราะฉะนั้น บุคคลใดที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตก็ควรมีสติรู้ตัว รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงต่าง ๆ
การทำงานหนักก็เป็นสาเหตุของโรคไตด้วย เพราะเมื่อร่างกายขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ อวัยวะภายในร่างกายก็จะไม่ได้รับการฟื้นฟู และซ่อมแซมตัวเองอย่างเต็มที่ เมื่ออวัยวะที่คอยฟอกของเสียในร่างกายอย่างไตไม่ได้หยุดทำงาน ก็อาจทำให้ไตเสื่อมสภาพลงได้ง่าย
6.ความดันสูง
ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงจะมีผลกระทบต่ออวัยวะที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น หัวใจ หลอดเลือด ไต และสมอง คนที่มีความดันโลหิตสูงนาน ๆ จะมีผลทำให้ไตเสื่อมลงเร็วกว่าปกติ แรก ๆ จะมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ นาน ๆ จะทำให้เกิดไตวายจนไปถึงไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
ขณะเดียวกัน ผู้ที่เป็นไตวายหรือโรคไตบางชนิดก็ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงชนิดร้ายแรงได้เช่นเดียวกัน (malignant hypertension) เพราะฉะนั้นผู้มีความดันโลหิตสูงก็ควรมั่นดูแลและสังเกตตัวเองให้เป็นพิเศษ
7.ภูมิลำเนา
ภูมิลำเนาก็เป็นอีกปัจจุัยหนึ่งที่น่าสนใจ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จะมีผู้ป่วยเป็นโรคนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะมาก สาเหตุอาจเกี่ยวเนื่องจากอาหาร และน้ำในภูมิลำเนาบริเวณนั้น เพราะฉะนั้นคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในบริเวณนี้ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตได้เช่นเดียวกัน